วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

                                                        ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

              คำว่า “ผู้บริหาร” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ1
 มี 2 ความหมาย คือ
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
2“ผู้บริหารมืออาชีพ” ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนดแม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจน
ว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษาโดยภาพรวม คำว่า “มืออาชีพ” หรือ “Professional” มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ เพื่อควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงาน ส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ “มั่ว แมเนจเมนท์” เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน “การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา
แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน แต่เราสามารถประเมินได้ว่า ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ3
1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs) โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2. วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง มีการพัฒนาระหว่างประจำการ และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา
สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า “ขาดคน ขาดเงิน” อีกต่อไป ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ความหวังของการศึกษาไทย เป็นความหวังสำหรับเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติและสังคมไทยโดยรวม แม้จะเริ่มต้นโดยความพยายามในการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบจำนวนไม่มากนัก แต่การขยายผลอย่างมั่นคงและต่อเนื่องจะนำไปสู่การยกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งประเทศให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพโดยทั่วหน้ากัน ประเทศไทยเราจะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใด ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง
เนื่องจากความสลับซับซ้อนของภารกิจและการเปลี่ยนแนวทางการบริหารตามการปฏิรูปใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จำเป็นต้องมีผู้บริหารการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถหรือคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ กล่าวคือ นอกจากต้องมีคุณสมบัติได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาตามเกณฑ์ที่จะกำหนด (เช่น ตามข้อกำหนดของสำนักงานปฏิรูปการศึกษา) และตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการและด้านปัจจัย ของสำนักงานคณะการมการการศึกษาแห่งชาติแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาแล้วจำต้องมีลักษณะหรือคุณสมบัติ ดังนี้

4เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา
คุรุสภา (2540) ได้ออกประกาศเกณฑ์มาตรฐานการบริหารการศึกษาของคุรุสภา 12 เกณฑ์ ดังนี้
1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
2. ต้องตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน
3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติตาม ได้เต็มศักยภาพ
4. พัฒนาแผนงานขององค์ กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
6. ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
9. ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
11. เป็นผู้นำและสร้างผ้านำ
12. สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการตามแนวการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) คือ บริหารงานอย่างมีอิสระเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการบริหารวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมงานด้านวิชาการเป็นหลักสำคัญ อันจะก่อให้เกิดความสำเร็จในการปฏิรูปการเรียนรู้และการปฏิรูปการศึกษาโดยรวม
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วยเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก
4. การประสานความสัมพันธ์
5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
6. การสร้างแรงจูงใจ
7. การประเมินผล
8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
9. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษาต้นแบบ หมายถึง ผู้บริหารที่มีลักษณะทางวิชาชีพและคุณลักษณะส่วนบุคคล ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
1. คุณลักษณะทางวิชาชีพ
มีความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถชักนำหรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติงานทางการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายทางการศึกษา มีการวางแผนการทำงาน มีความริเริ่มสร้างสรรค์ บริหารงานโดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และรู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม
2. คุณลักษณะส่วนบุคคล
เป็นแบบอย่างที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษา มีบุคลิกภาพที่ดี มีปฏิภาณไหวพริบดี มีการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความรับผิดชอบสูง มีใจเปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีความสามารถในการสื่อสาร กล้าในการพูดและการปฏิบัติ มีความตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นนักพัฒนาและนักบริการสังคม มีสุขภาพดี มีความรักในสถาบันของชาติ และอนุรักษ์ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ลักษณะผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ
นักบริหารการศึกษามืออาชีพที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารและการจัดการศึกษาตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน 5 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ลักษณะดังกล่าวประกอบด้วย
1. ลักษณะพื้นฐานทางธรรมชาติเป็นเดิมทุน
2. การศึกษา
3. บุคลิกภาพ
4. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
5. ความสามารถ/ทักษะ
6. ความรู้ลึกและรู้รอบ
7. การมีอนุญาตประกอบวิชาชีพการบริหาร
6ลักษณะผู้บริหารแบบซีอีโอ (CEO)
แนวคิดการบริหารแบบซีอีโอ (CEO) ที่ท่านนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร นำมาปรับใช้ในการบริหารประเทศในเวลานี้ มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงนำหน้า โดยมี ซีอีโอ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยปกติ ซีอีโอจะมีวาระดำรงตำแหน่งที่ชัดเจน และมีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จภายในองค์กรได้ โดยนำเสนอรายงานต่อเจ้าของ หรือ กรรมการ (Board) ขององค์กรนั้น ดังนั้นเมื่อมีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับการปฏิรูปการศึกษาของไทย ซีอีโอในที่นี้จึงเปรียบได้กับผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจและนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สถานศึกษาของตน โดยจะต้องรายงานผลต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของการศึกษาของประเทศ โดยยึดหลักปฏิรูปตามแนวเจตจำนงของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จนั้นผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรมีลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากอดีต และต่างจากผู้บริหารทั่วไปดังนี้
1. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เชิงกุลยุทธ์
2. เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ
3. เป็นนักเรียนรู้
4. เป็นนักประสานงาน
5. เป็นนักพัฒนา

          แนวทางการประเมินผู้บริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544) ได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ 3 เกณฑ์7 ดังนี้คือ
เกณฑ์ที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ดังนี้
1. ผู้บริหารสถานศึกษามีการจัดองค์กร โดรงสร้างและการบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา
2. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา และมีบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community)
4. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน
5. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาครูอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีครูมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
6. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นมีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
7. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
8. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
9. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) แก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้เรียน
10. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
11. ผู้บริหารสถานศึกษามีศักยภาพในการพึ่งตนเองสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
12. ผู้บริหารสถานศึกษามีผลการปฏิบัติงานดีเด่นด้านส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ดังนี้
12.1.ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
12.2.ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
12.3.ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
12.4.ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
12.5.ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
12.6.ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา

เกณฑ์ที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)
เกณฑ์ที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารจัดการดังนี้
1. ผู้บริหารศึกษาอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเมตตา กรุณา มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม และซื่อสัตย์
3. ผู้บริหารสถานศึกษามีการปกครองที่ดี ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข สิ่งเสพย์ติด
4. ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับความศรัทธาและยอมรับด้วยคุณธรรม จริยธรรมจากนักเรียน ครู เพื่อนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน
5. ผู้บริหารสถานศึกษาใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารจัดการ

แหล่งที่อ้างอิง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
รุ่ง แก้วแดง,ดร.,การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
ธีระ รุญเจริญ,ศ.ดร.,ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ : ศักยภาพเพื่อการเรียนรู้, ม.วงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2545
คุรุสภา, เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2540.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,ศ.ดร., บทความจากนิตยสาร งานวันนี้ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 22-29 กุมภาพันธ์ 2547 “ยุทธศาสตร์สร้างงานบริหารคน”, ผู้อำนวยการสถานบันอนาคตเพื่อการพัฒนา
                                   สุภัทรชัย บุญมี  นำเสนอบทความ


พระบรมราโชวาท ๓๖ ข้อของ. . . พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่๙
๑. ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ
๒. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก " ปัญญา"และ "ความกล้าหาญ"
๓. จงใช้จุดแข็ง แต่อย่าเอาชนะจุดอ่อน
๔. อ่านหนังสือ "ธรรมะ" ปีละเล่ม
๕. ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้อง การให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
๖. พูดคำว่า "ขอบคุณ" ให้มากๆ
๗. รักษา "ความลับ" ให้เป็น
๘. ประเมินคุณค่าของการให้ "อภัย" ให้สูง
๙. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
๑๐. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำนิ และรู้แก่ใจว่า เป็นจริง
๑๑. หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่
๑๒. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก ให้คิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
๑๓. อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟท์
๑๔. ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
๑๕. อย่าหยิ่งที่จะกล่าวคำว่า "ขอโทษ"
๑๖. อย่า อาย หากจะบอกใครว่า "ไม่รู้"
๑๗. ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดเส้นทาง
๑๘. ไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
๑๙. การ ประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นหนทางแห่งความไม่ประมาท
๒๐. คนไม่ รักเงิน คือ คนไม่รักชีวิต ไม่รักอนาคต
๒๑. ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อน คือ ผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
๒๒. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันที่สนุกหมด
๒๓. "เพื่อน ใหม่" คือ ของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน "เพื่อนเก่า" คือ อัญมณีที่นับวัน
      จะเพิ่มค่า
๒๔. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้า ใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจ
      ในสิ่งที่เราพูด
๒๕. เหรียญเดียวมีสองหน้า "ความสำเร็จ"กับ "ล้มเหลว"
๒๖. อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆ ที่เกิดขึ้นล้วนตามใจตนเองทั้งสิ้น
๒๗. ฟันร่วงเพราะมัน แข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
๒๘. อย่าดึงต้นกล้าให้โตไวๆ (อย่าใจร้อน)
๒๙. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีให้
๓๐. ถ้า ติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆไปก็จะผิดหมด
๓๑. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวัน เวลาแล้วเสร็จ
๓๒. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
๓๓. ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องปีน "บันไดสูง"
๓๔. มนุษย์ทุกคนมี ชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ
๓๕. หนังสือ เป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
๓๖. ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต


"...คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น  แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน  พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง..."

"...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย  แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ..."

"...Self - Sufficiency  นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง..."

"...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย  ถ้าทุกประเทศมีความคิดคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต 

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่น 3 ห้องเรียนที่ 2 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์

                                เพื่อนๆร่วมรุ่น  นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี


                         ปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์
                                                        รุ่นที่ 3
                                    ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
                                       วันที่  30  มกราคม  2554



ภาพรวมเพื่อนๆนักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา
รุ่นที่ 3 ห้องเรียนที่ 2
โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์



 

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

                                            พิธีทำบุญตักบาตร และ ไถ่ชีวิตโค
                            เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่  2554 วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
                                                  วันที่  30  ธันวาคม  2553


                           
                     
                                  ผู้อำนวยการ  รองผู้อำนวยการ ข้าราชการครู
                                         และ บุคลากรวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
                               ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
 
 


ร่วมแข่งขันกีฬาเชื่อมสัมพันธไมตรี
ระหว่างครู บุคลากรวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
ณ ลานสนามกีฬา วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
วันที่  30  ธันวาคม  2553




รับรางวัลจาก รองศิริวรรณ  วงศ์วิลา
รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
ฝ่ายวิชาการ


ผู้นำเสนอ นายสุภัทรชัย  บุญมี
เจ้าหน้าที่งานเอกสารการพิมพ์
วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
สนับสนุนภาพถ่าย นางสาวบุษยา สระแก้ว
งานประชาสัมพันธ์
   

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

 

              PDCA  คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ
               
   P  = Plan  คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น
   ประกอบด้วย
                1.กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนโดยการพิจารณาถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นที่ชัดเจน
                2.กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้
                3.กำหนดวิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
D = Do   คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
ประกอบด้วย
               1.ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการตามที่แผนงานกำหนด
               2.ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
               3.รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
C = Check  คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงาน
ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด
ประกอบด้วย
           1.ตรวจสอบผลในขณะที่การปฏิบัติงานของพนักงานนั้นเป็นไปตามขั้นตอนที่จัดตั้งไว้
          2.ตรวจสอบผลโดยการวัดความผิดพลาด,ความแปรปรวนต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลการดำเนินงาน
         3.ตรวจสอบผลคุณลักษณะด้านคุณภาพเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่จัดตั้งไว้
A = Action  คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ
ก็ ยอมรับแนวทางการ ปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จเพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป           
ประกอบด้วย
              1.ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทันที
             2.เมื่อการแก้ไขปัญหาบรรลุผลสำเร็จ ให้จัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ของปัญหา
             3.ปรับปรุงระบบและวิธีการทำงาน
                เมื่อได้ว่างแผนงาน  (P)  นำไปปฏิบัติ  (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) 
พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ
 โดยสรุปแล้ว PDCA คือการบริหารงานให้มีคุณภาพ มีการวางแผน มีการลงมือปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ  มีการตรวจสอบในขณะที่เราลงมือปฏิบัติงาน  มีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อมีข้อผิดพลาด และได้ปรับปรุงแก้ไขงานในครั้งต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก
                          
            

MV เพลง รัก Infamous